วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 3 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู*

เรื่อง รายการทอค์ด อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1 
 
ความรู้ที่ได้ คือ..  การจะสอนเด็กให้ดีสอนให้ง่าย ต้องสอนผ่านของเล่น เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้ สี ขนาด รูปทรง
แล้วค่อยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเพราะเด็กอนุบาลจะเรียนรู้แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งครูจะสอนโดยใช้แกะเป็นสื่อโดยการถามเด็กผ่านสีของตัวแกะ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องขนาดแล้วสอดแทรกเรื่องการนับให้เด็กนับจำนวนแกะและใช้สัญลักษณ์ตัวเลขอีกวิธีหนึ่งคือวางตัวเลข 1 2 3 แล้วให้เด็กเอากระดุมวางตามจำนวนตัวเลข



*เพื่อน เลขที่ 4 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามแนวมอนเตสซอรี่ ความรู้ที่ได้ คือ...  ใช้การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งคนในบางกิจกรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กทำงานไปตามลำดับความยากง่าย และเป็นไปตามความสามารถ และจังหวะ ช้า-เร็วของเด็ก โดยจัดให้เด็กรู้วงจรของงานคือ หยิบงานจากชั้นอุปกรณ์ ปฏิบัติงานจนเสร็จ แล้วจึงนำอุปกรณ์นั้นเก็บคืนชั้นด้วยตนเอง เด็กมีอิสระในการเลือกอุปกรณ์ทำงานด้วยตนเอง
 เด็กสามารถทำงานกับอุปกรณ์นานเท่าที่เด็กต้องการ ในการปฏิบัติกิจกรรมผู้วิจัยเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นให้กับเด็กก่อนที่เด็กจะทำงานด้วยตนเอง ถ้าเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานกับอุปกรณ์แต่ละอย่างผู้วิจัยจะทำการสาธิตอีกครั้งหนึ่งจนกว่าเด็กเกิดความเข้าใจและสามารถทำงานนั้นๆ ได้ด้วยตนเอง  เป็นการจัดศึกษากลุ่มประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวทาง

     วิธีการของมอนเตสซอรี่ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกิจกรรม 15 กิจกรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกับอายุของ
เด็กปฐมวัยที่จะศึกษา คือ อายุระหว่าง 4-5 ปี 




*เพื่อน เลขที่ 5 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวัย ความรู้ที่ได้ คือ... ศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน
กาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก        ประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาเเละเพลง 30 คน
กลุ่มที่สอง    จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 30 คน

เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์



*เพื่อน เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย*
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ความรู้ที่ได้ คือ... ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้       
1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสใเด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร   
 2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง     
3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม*

1.ต้องศึกษา สาระที่ควรรู้
2.วิเคราะห์เนื้อหา
3.ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
4.บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
5.ออกแบบกิจกรรม


*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม*



*ขั้นตอนการเขียนแผน*





ทักษะ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การทำงานเป็นกลุ่ม*
*การระดมความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนหรือในกลุ่ม*
*การแสดงความคิดเห็น*
*การแผนผังความคิดเป็น* 
*ขั้นตอนการเขียนแผนการสอนและกิจกรรม*


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
-การมอบหมายงานเป็นงานกลุ่ม

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งมีส่วนร่วมในงานนั้น คือแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด ในเรื่องของการทำแผนผังความคิด การออกแบบกิจกรรม การเขียนแผนการสอน ได้เป็นอย่างดี และตั้งใจทำงาน

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในการทำงานรับฟังความคิดของเพื่อน 

*อาจารย์ผู้สอน*


  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ  มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ  และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น