วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันพุธ ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 4

ความรู้ที่ได้รับ



*ทบทวนพัฒนาการ*


ทฤษฎีเพียเจต์

ขั้นที่1 เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
ขั้นที่2 เด็กเริ่มใช้ภาษามากขึ้นและมีเหตุผล 



ทฤษฎีบรูเนอร์

1.ขั้นการกระทำ--->จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ขั้นความคิด--->สร้างมโนภาพในใจได้ 
3.ขั้นสัญลักษณ์และนามประธรรม--->ใช้เหตุผลได้ และมีรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้มากขึ้น

ทฤษฎีไวกอตสกี้

1.เด็กต้องการกระบวนการสนับสนุน และเพิ่มพูนพัฒนาการทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน เด็กจะมีความคิดที่อยากจะทำเอง โดยไม่ใช้คำสั่งของคนอื่น และการสนับสนุนนั้นจากสภาพแวดล้อมและเพื่อน 
2.เด็กต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น และการสื่อสารจากผู้ปกครองและคุณครู ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กบ่อยๆ

*คุณลักษณะตามเด็กปฐมวัย*

คือ พฤติกรรมตามวัย ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติทั้ง 4 ด้าน



*ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้คณิตศาสตร์*


1.ด้านกายภาพ--->ความรู้ที่เกิดจากภายนอกโดยตรง 
2.ด้านเหตุผล--->ความรู้ที่เกิดจากภายในเชื่อมโยงกับทฤษฎีโดยการลงมือปฏิบัติซึ่งเป็นผลสะท้อน เด็กต้องปฏิบัติบ่อย จากกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงหาข้อเท็จจริง 



*จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย*


1.เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานคณิตศาสตร์ รู้จักคำศัพท์ 
เช่น เวลา รูปทรง ขนาด เป็นต้น
2.พัฒนาการคิดมโนภาพ 
เช่น การบวก-->ทำให้เพิ่มขึ้น การลบ-->ทำให้น้อยลง
3.รู้จักขั้นตอนในการหาคำตอบ
4.ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.มีความรู้ ความเข้าใจ ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
               

*ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*


1.การสังเกต
2.การจำแนกประเภท-->หาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการจำแนก เกณฑ์ที่ใช้ต้องใช้เกณฑ์เดียว
3.การเปรีบยเทียบ-->ต้องหาความสัมพัธ์ของวัตถุสองสิ่งขึ้นไป และเด็กต้องรู้จักคำศัพท์ที่ใช้ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน เป็นต้น
4.การเรียงลำดับ-->จะต้องเปรียบเทียบแล้วนำมาจัดลำดับ เช่น น้อยไปหามาก ใหญ่กลางเล็ก จัดลำดับวัตถุและเหตุการณ์
5.การวัด-->จะต้องใช้ความสัมพันธ์ความสามารถและการอนุรักษ์ เช่น การวัดอุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนักเป็นต้น ซึ่งเครื่องมื่อที่ใช้ในการวัดนั้นจะต้องไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
6.การนับ-->เด็กชอบนับแบบท่องจำหรือปากเปล่า ซึ่งไม่มีความหมาย จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับเรื่องในชีวิตประจำวัน หรือมีจุดมุ่งหมาย
7.รูปทรงและขนาด-->เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าเรียน เพราะเด็กมีประสบการณ์เดิมจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว

*หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*

1.สอนให้สอดคล้องในชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตนเอง
3.ครูจะต้องมีการวางแผนที่ดี
4.เอาใจใส่กับพ้ฒนาการของเด็ก



*คำศัพท์คณิตศาสตร์*


ตัวเลข                     ขนาด                             รูปทรง
     ที่ตั้ง                        ค่าของเงิน                     ความเร็ว

*เพลง*

ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                                


ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน*
*ระดมความคิด* 
*ทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา*
   สามารถเช็คชื่อนักเรียนที่มาเรียนได้ แล้วนำมาสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ ในเรื่องการนับ เวลา ได้อีกด้วย
*การร้องเพลง*


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การร้องเพลง



การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  เข้าใจในเนื้อหา สามารถอธิบายและตอบอาจารย์ได้ 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและวิเคราะห์คำตอบช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนที่นำเสนอ โทรทัศน์ครู เวลาออกมาพูด พูดไม่ค่อยชัดเจน สักเท่าไร

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม และเมื่ออาจารย์สอน จะยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเรื่องที่เรียน 


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุป งานวิจัย



ชื่อวิจัย: ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภทของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย:นางสาวนภาพร ละดาห์
มหาวิยาลัย:เกษตรศาสตร์
ปี พ.ศ.:2552


          จากผลการวิจัยเรื่อง  ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท ซึ่งมีประชากร คือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี อนุบาลปีที่ 2 
โรงเรียนชุมชนบ้านเจียด จังหวัด อุบลราชธานี จำนวน 26 คน 
          ซึ่งมีการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดประเภท ก่อนเรียนและหลังเรียน 
         โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น 24 กิจกรรม ใน4 เรื่อง  1.รูปทรงเรขาคณิต 2.ประเภทตามขนาด 3.ประเภทตามชนิด 4.ประเภทตามสี อย่างละ 6 กิจกรรม
และแบบทดสอบ 20 ข้อ ใน 4 เรื่องที่กล่าวมา เรื่องละ 5 ข้อ 
          ระเวลา คือ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 40 นาที
สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ใช้ คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม้ไผ่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น 
ส่วนกิจกรรมก็จะสอดคล้องกับเนื้อหา ทั้ง 4เรื่อง
          ผลการวิจัยในเรื่องนี้พบว่า เด็กทีได้รับการจัดกิจกรรม โดยการใช้สื่อในท้องถิ่น มีคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการจัดประเภท หลังการทดสอบได้ดีกว่าก่อนทดสอบ


สรุป โทรทัศน์



เรื่อง การใช้หุ่นมือ- Early years
ที่มา: โทรทัศน์ครู 
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

การที่จะใช้หุ่นมือสอนเกับเด็ก ผู้สอนจะต้องให้เด็กได้คุ้นเคยกับหุ่นมือก่อน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดการกลัว ซึ่งโรงเรียนเซ็นจอนต์ เป็นโรงเรียนที่อยู่ต่างประเทศ ได้นำเอาหุ่นมือมาสอนเกี่ยวกับความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ในเรื่องของการนับตัวเลข เด็กจะเป็นผู้ควบคุมตัวหุ่นเอง ครูผุ้สอนจะให้เด็กได้สวมถุงมือหุ่นแล้วตอบในสิ่งที่ครูผู้สอนถาม เกี่ยวกับร่างกายบ้าง ว่าตาของตุ๊กตาหุ่นมีกี่ดวง หรือการถามตัวเลขเด็กแต่ให้เด็กเป็นตัวหุ่น ซึ่งหุ่นจะเป็นสื่อในการตอบของเด็ก เด็กจะกล้าตอบและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที ในการเรียนคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 3

ความรู้ที่ได้รับ


*ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ*
     
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ ทำให้ทราบถึงตัวเด็กมากขึ้น มีความตระหนักในการจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก


*พัฒนาการด้านสติปัญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง*

    สติปัญา------>>ภาษา
                        ------->>การคิด------>>เชิงเหตุผล----------->>คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์
                                                ------->>เชิงสร้างสรรค์
 
              **ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการใช้ในชีวิตประจำวัน**
   

การทำงานของสมอง
      สมอง จะรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วนำมาประมวลผล เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่แล้วสามารถแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมใหม่ คือ การเรียน


  ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการด้านสติปัญา
และการทำงานของสมอง
    คือ การทำงานของสมองนำมาจัดตามลำดับขั้นตามช่วงอายุ 0-2 , 2-4 , 4-6 แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นพัฒนาการทางด้านสติปัญา


*พัฒนาการด้านสติปัญาตามแนวคิดของบุคคลดังต่อไปนี้*
คือ  เพียเจต์ บรูเนอร์ และ ไวก๊อตสกี้


*ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้*

ความหมายของการเรียนรู้ คือ รับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งหาแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเรียนรู้มีประโยชน์ คือ เพื่อให้อยู่รอด ปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม



*เด็กปฐมวัยกับวิธีการเรียนรู้*

วิธีการเรียนรู้ คือ จากการเลียนแบบ และการเล่นโดยลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5

ทักษะ
*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน*
*มีการเชื่อมโยงคำตอบของเพื่อนๆ ให้เป็นคำตอบที่สมบูรณ์*

วิธีการสอน
-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันกับนักศึกษา


การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องไม่สะดวกต่อการใช้งาน เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ ทำให้ส่งผลกระทบถึงเวลาเรียนและอารมณ์ของผู้เรียน แอร์เย็นสบายดี 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ไม่ค่อยมีสมาธิในช่วงแรกในการเรียนแต่สามารถปรับอารมณ์ให้เข้าสู่ภาวะปกติได้ เข้าใจในเนื้อหา สามารถอธิบายและตอบอาจารย์ได้ 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนๆในห้องเรียนที่นั่งหลังห้องคุยกันเสียงดัง ในขณะที่อาจารย์สอน แต่เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและวิเคราะห์คำตอบช่วยกันเป็นอย่างดี

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม และเมื่ออาจารย์สอน จะยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเรื่องที่เรียน และมีการวิเคราห์เนื้อที่เรียน และคำตอบของนักศึกษา ที่นักศึกษาได้ตอบคำถามให้ถูกต้องและเข้าใจ

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 2

ความรู้ที่ได้รับ


*ได้ทราบถึงเรื่องการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจากบทความที่เพื่อนนำมาเสนอ*
    
        ว่ามีความสำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์จะต้องลงมือปฏิบัติจริง เพื่อที่จะกระตุ้นสมองแล้วเกิดพัฒนาการคิดใหม่ๆ ในสภาพที่ไม่เคร่งเครียด แล้วสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อจะไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและความรู้ทางคณิตศาสตร์


*ความหมายของคณิตศาสตร์*
    
         หมายถึง วิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ การคิดเลข และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และกับทุกๆอาชีพ ถ้าเป็นเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข โดยจากการสังเกต และการเปรียบเทียบ ยิ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและสามารถจับต้องได้ ยิ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น



*ความสำคัญของคณิตศาสตร์*
       
       คณิตาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลมีนิสัยที่ละเอียดอ่อน รอบคอบ มีการคิดที่เป็นระบบ แบบแผน มีไหวพริบปฎิญาณที่ดีในการลงมือปฏิบัติเพื่อหาข้อพิสูจน์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข



*ประโยขน์ของคณิตศาสตร์*
      
       ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนก การจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาดได้ และการทำให้คนเป็นผู้ที่มีความคิดเป็นระบบ มีเหตุมีผล รอบคอบ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ 



*ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์*
     เป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสม กับการพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดและมีประสิทธิภาพ
   มีทั้งหมด 5 ทักษะดังนี้
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เลขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ทักษะ

*การทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
  มีคำถาม 4 คำถาม
  1.ความหมายของคณิตศาสตร์ คือ?
  2.คณิตศาสรต์มีความสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างไร?
  3.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์?
  4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์?

*การทำงานกลุ่ม*
  ได้มีการแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม ในเรื่อง ความสำคัญของคณิตศาสตร์ 

*การมีส่วนร่วมในการการตอบคำถาม*

*การสรุปสาระสำคัญ*
  จากเนื้อหาในเรื่อง ความสำคัญของคณิตศาสตร์

วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point และใช้คำถามในการสอน


การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้ในการเรียนแล้ว แอร์เย็นสบาย พื้นสกปรกนิดหน่อย

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม มีการแสดงความคิดเห็นในการทำงานกลุ่ม 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนๆในห้องเรียนมีมารยาทในการฟังในการเรียนเมื่ออาจารย์สอน ไม่คุยกันเสียงดัง พูดจาสุภาพ เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม และเมื่ออาจารย์สอน จะยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเรื่องที่เรียน



สรุปบทความคณิตศาสตร์



ชื่อบทความ: สอนคณิตอย่างไรให้สนุก ( สำหรับเด็กปฐมวัย )
โดย : วรารัตน์  สิริจิตราภรณ์
           โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)


     การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สนุกสนาน โดยการสอนง่ายๆ ไม่เครียดกับเนื้อหา และเหมาะสมตามวัย สามารถให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการเล่น โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ หยิบจับ สัมผัส สังเกต ด้วยตัวของเด็กเอง โดยนำสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวมาสอนในเรื่องคณิตศาสตร์ได้ เช่น ไม้บล็อก ตัวต่อ  ดอกไม้ เพื่อให้เด็กได้จำแนกรูปทรง สี การนับ การจัดหมวดหมู่ โดยจากการสังเกตและสัมผัส สิ่งเหล่านี้ก็จะสามารถจัดการเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างสนุกสนาน 

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่9 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 1

ความรู้ที่ได้รับ
*แนวทางในการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*
    โดยมีเกณฑ์มาตราฐาน 5อย่างคือ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะความรู้ ความสัมพันธ์ และ เทคโนโลยี

ทักษะ

*การเขียน mind map*
    จากความรู้ที่ตนเองมีในเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


*การตอบคำถาม*
    เมื่ออาจารย์ถามในเนื้อหาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สหับเด็กปฐมวัยว่ามี่ความรู้แค่ไหนอย่างไร

วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายและใช้คำถามในการสอน

การประเมิน


*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องไม่สะดวกต่อการใช้ในการเรียนและไม่พร้อม

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนๆในห้องเรียนมีมารยาทในการฟังในการเรียนเมื่ออาจารย์สอน ไม่คุยกันเสียงดัง พูดจาสุภาพ

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม ชี้แจงรายละเอียดในบทเรียนได้อย่างเข้าใจ