วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 19 นำเสนอบทความ*

เรื่อง ทำไมสอนคณิตศาสตร์ให้กับด็กปฐมวัย ความรู้ที่ได้ คือ... เพราะเด็กช่วงอายุ 0-3 ใช้สมองซีกขวาทำงานได้ดี สามารถแยกจำนวนได้ รับรู้สิ่งต่างรอบตัว และบันทึกความจำระยะยาวอีกด้วย ประโยชน์ของการเรียนคณิตนั้น จะทำให้มีการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพยาม 

และกระตุ้นสมองซีกขวาของเด็กได้ดี



*เพื่อน เลขที่ 20 นำเสนอบทความ*

เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก ความรู้ที่ได้ คือ..การมีกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ โดยใช้เทคนิค ไม่ว่าจะเป็น เพลง สื่อ และ เกม โดยวิธีการสอนนั้น 1.ให้เวลา 15 นาทีก่อนเรียนให้เด็กมีโอกาสทำการบ้าน กรณีที่เด็กทำไม่เสร็จ เนื่องจากเด็กอาจมีปัญหา อาจจะไม่มีคนสอน ครูก็จะสามารถบอกหรือสอนด็กในเวล15 นาที ที่ทำแบบนี้เพื่อสร้างทัศนคติในวิชาคณิตศาสตร์กับเด็ก 2. ครูไม่ใช้เครื่องหมาย กากบาทกับเด็ก ไม่ตราหน้าเด็ก เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเกลียด หรือไม่ชอบในวิชานี้นั้นเอง


*การนำเสนอ รูปแบบการจัดประสบการณ์*

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้แล้วแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก็ปัญหาโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม คือ 1.การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  2.ทัศนศึกษา 3.สืบค้น 4.นำเสนอผลงาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน   จะมีพื้นฐาน 3ข้อ ของการเรียนรู้ คือ 
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย  ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน  ต้องมีการใช้สื่อหลายๆรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณืจริงที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM 
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย

การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก แต่จะสร้างสมาธิ ความมั่นใจ และความสำเร็จในการเรียนให้กับเด็ก

การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline  Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม  ลักษณะของการเรียนมีหลายรูปแบบตั้งแต่เรียนเดี่ยว เรียนเป็นคู่ เรียนกลุ่ม หรือเรียนพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

*เนื้อเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์*


    บวก    บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ  ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                        มารวมกันนับดีๆซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

                             ลบ      บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
                                                       ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้าง ม้า มี   สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย


*เทคนิค*

การจัดกลุ่ม

กำหนด 
ให้นักเรียน เลขที่ 1-5 กลุ่มสตอเบอรี่
เลขที่ 6-10 กลุ่มเชอรี่
เลขที่ 11-15 กลุ่มแอปเปิ้ล
เลขที่ 16-20 กลุ่มลิ้นจี่
เลขที่ 21-25 กลุ่มมะม่วง


ทักษะ

*ลงมือกระทำและวิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การร้องเพลง*
*ทำกิจกรรม เช็คเวลาที่เข้าเรียน*
*นำเสนองานในรูปแบบ Power point



วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการนำเสนองาน เรื่อง การจัดเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ รู้สึกเหมือนว่ามีการเตรียมความพร้อมไม่ค่อยโอเคหนัก และมีข้อบกหพร่องพอสมควร ในเรื่องของเนื้อหา เอกสารประกอบ และการนำเสนอ แต่ก็พยายามนำเสนอให้เพื่อนๆเข้าใจให้ดีที่สุด

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอยู่บ้างเป็นระยะๆ  และมีความบกพร่องเรื่องเนื้อหาในการนำเสนอ ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจมากหนัก

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ มีเพลงให้ร้อง มีกิจกรรมให้ทำ มีคำแนะนำและการประเมินทุกครั้งเมื่อนักศึกษาออกมานำเสนองาน ว่ามีสิ่งที่ควรแก้ไขอย่างไร มีคำถามเสมอ และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำและสอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อ มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น