วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ไดัรับจากรายวิชา



บันทึกครั้งที่ 15

สรุป


*เนื้อหาความรู้*


เทคนิค การสอน
      -การเช็คชื่อเด็ก
      -ขั้นตอนการสอน
      -การเขียนแผนภูมิกราฟฟิก
      -การใชคำถาม และคำพูดในการสอน
      -กิจกรรมต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติ

*คุณธรรม จริยธรรม*

1.ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง
2.ตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และส่งงานตามที่กำหนดเวลาไว้
3.มีการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจากการทำงานเป็นกลุ่ม

*ทักษะการจัดการเรียนรู้*

1.การวางแผนการเขียนแผนการสอนและจัดประสบการณ์
2.การเขียนแผนการสอนและจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.การทดลองการสอนและจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4..การทำสื่อประกอบการสอน

*ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ*

1.การนำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง
2.การทำ อนุทินลง Blogger เมื่อเรียนเสร็จ
3.การศึกษา ค้นคว้า บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู เพลง เกม  นิทาน ลงใน Blogger

*ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลคลและความรับผิดชอบ*
1.มีการทำงานกันเป็นกลุ่ม ระดมความคิดร่วมกัน วิเคาระห์ปัญหาเพื่อหาคำตอบร่วมกัน




วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันจันทร์ ที่ 27 เดือนเมษายน พ.ศ.2558 (เรียนชดเชย)

บันทึกครั้งที่ 14

ความรู้ที่ได้รับ

 *แนวข้อสอบ*



ทักษะ

*การใช้คำถาม*
*การบรรยาย*
*การแสดงความคิดเห็น*
*การตอบคำถาม*
*การคิดวิเคราะห์*

วิธีการสอน

-ใช้คำถามในการสอน
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การบรรยาย


การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน มีการคิดวิเคราห์ และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ  มีสมาธิในการเรียนได้เป็นอย่างดี

*เพื่อนในห้องเรียน*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการเรียน รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย และมีมารยาทในการฟังเมื่อเวลาที่ครูแนะนำหรือสอน


*อาจารย์ผู้สอน*

   เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ  และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น  มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันพุธ ที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 13

ความรู้ที่ได้รับ

เพลง ดอกไม้
ดอกไม้มีนานาพันธุ์
มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง
ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง
เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอย 
 
เทคนิคจากเพื่อนนำเสนอทดลองการสอน
เรื่อง ดอกไม้
1.การร้องเพลง
2.การถามประสบการณ์ดิมของเด็ก เกี่ยวกับดอกไม้ เมื่อเด็กตอบต้องเขียนแผนผังความคิดให้เด็กเห็น
3.นับจำนวนดอกไม้แล้วเขียนตัวเลขกำกับ
4.แยกกลุ่ม
5.แล้วถามถึงขั้นอนุรักษ์ของเด็ก
6.แล้วพิสูจน์ โดยจับคู่ออก 1 ต่อ 1 ถ้ากลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีมากกว่า แต่กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า
7.สุดท้าย สนทนากับเด็ก โดยใช้แผนผังความคิดที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ คือเป็นอันสรุปนั้นเอง
 
เทคนิคการสอนเด็กในเรื่องของการนับ
โดยใช้ขนมบรรจุใส่กล่องไว้
 
1.การใช้คำถามความน่าจะเป็น ว่า ทั้งหมดในกล่องนี้มีกี่ชิ้น
2.แล้วนำมานับพร้อมกัน โดยมีสื่อที่วางชิ้นขนม เมื่อเวลานับจะได้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องเรียงให้เป็นเลขฐานสิบ
 
ทักษะ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การระดมความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนหรือในกลุ่ม*
*การแสดงความคิดเห็น*
*การวิเคราะห์การนำเสนอการสอนของเพื่อน*
*การตอบคำถาม*
*การร้องเพลง และแต่งเติมเนื้อเพลง*
 



วิธีการสอน

-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา


การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  แล้วการคิดวิเคราห์ และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ  มีสมาธิในการเรียนได้เป็นอย่างดี

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันให้คำแนะนำและช่วยเหลือในสิ่งที่บกพร่อง รับฟังความคิดของเพื่อน 

*อาจารย์ผู้สอน*

 เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ  มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ  และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันพุธ ที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ

เพลง เเตงโม
เตงโม  เเตงโม  เเตงโม
โอโฮ้  เเตงโม  ลูกใหญ่
เนื้อเเดง  เรียกว่า  จินตหรา
เนื้อเหลื่อง นี่หนา เรียกว่า นํ้าผึง

เพลง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วนกินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยนํ้าว้า
ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

เพลง ไก่ กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมา เเล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่  ไก่นั้นมีสองขา
ไก่เจ้เดินมา เเล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก



ทักษะ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การทำงานเป็นกลุ่ม*
*การระดมความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนหรือในกลุ่ม*
*การแสดงความคิดเห็น*
*ร้องเพลง*
*นำเสนอการสอน*



วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
-การมอบหมายงานเป็นงานกลุ่ม

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งมีส่วนร่วมในงานนั้น คือแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด ในเรื่องของการทำแผนผังความคิด การออกแบบกิจกรรม การเขียนแผนการสอน ได้เป็นอย่างดี และตั้งใจทำงาน

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในการทำงานรับฟังความคิดของเพื่อน 

*อาจารย์ผู้สอน*


  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ  มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ  และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 3 เดือนเมษายน พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู*

เรื่อง รายการทอค์ด อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1 
 
ความรู้ที่ได้ คือ..  การจะสอนเด็กให้ดีสอนให้ง่าย ต้องสอนผ่านของเล่น เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้ สี ขนาด รูปทรง
แล้วค่อยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเพราะเด็กอนุบาลจะเรียนรู้แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งครูจะสอนโดยใช้แกะเป็นสื่อโดยการถามเด็กผ่านสีของตัวแกะ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องขนาดแล้วสอดแทรกเรื่องการนับให้เด็กนับจำนวนแกะและใช้สัญลักษณ์ตัวเลขอีกวิธีหนึ่งคือวางตัวเลข 1 2 3 แล้วให้เด็กเอากระดุมวางตามจำนวนตัวเลข



*เพื่อน เลขที่ 4 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามแนวมอนเตสซอรี่ ความรู้ที่ได้ คือ...  ใช้การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งคนในบางกิจกรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กทำงานไปตามลำดับความยากง่าย และเป็นไปตามความสามารถ และจังหวะ ช้า-เร็วของเด็ก โดยจัดให้เด็กรู้วงจรของงานคือ หยิบงานจากชั้นอุปกรณ์ ปฏิบัติงานจนเสร็จ แล้วจึงนำอุปกรณ์นั้นเก็บคืนชั้นด้วยตนเอง เด็กมีอิสระในการเลือกอุปกรณ์ทำงานด้วยตนเอง
 เด็กสามารถทำงานกับอุปกรณ์นานเท่าที่เด็กต้องการ ในการปฏิบัติกิจกรรมผู้วิจัยเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นให้กับเด็กก่อนที่เด็กจะทำงานด้วยตนเอง ถ้าเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานกับอุปกรณ์แต่ละอย่างผู้วิจัยจะทำการสาธิตอีกครั้งหนึ่งจนกว่าเด็กเกิดความเข้าใจและสามารถทำงานนั้นๆ ได้ด้วยตนเอง  เป็นการจัดศึกษากลุ่มประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวทาง

     วิธีการของมอนเตสซอรี่ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกิจกรรม 15 กิจกรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกับอายุของ
เด็กปฐมวัยที่จะศึกษา คือ อายุระหว่าง 4-5 ปี 




*เพื่อน เลขที่ 5 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวัย ความรู้ที่ได้ คือ... ศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน
กาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก        ประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาเเละเพลง 30 คน
กลุ่มที่สอง    จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 30 คน

เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์



*เพื่อน เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย*
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ความรู้ที่ได้ คือ... ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้       
1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสใเด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร   
 2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง     
3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม*

1.ต้องศึกษา สาระที่ควรรู้
2.วิเคราะห์เนื้อหา
3.ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
4.บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
5.ออกแบบกิจกรรม


*ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม*



*ขั้นตอนการเขียนแผน*





ทักษะ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การทำงานเป็นกลุ่ม*
*การระดมความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนหรือในกลุ่ม*
*การแสดงความคิดเห็น*
*การแผนผังความคิดเป็น* 
*ขั้นตอนการเขียนแผนการสอนและกิจกรรม*


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
-การมอบหมายงานเป็นงานกลุ่ม

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งมีส่วนร่วมในงานนั้น คือแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด ในเรื่องของการทำแผนผังความคิด การออกแบบกิจกรรม การเขียนแผนการสอน ได้เป็นอย่างดี และตั้งใจทำงาน

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในการทำงานรับฟังความคิดของเพื่อน 

*อาจารย์ผู้สอน*


  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ  มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ  และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ


วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 20 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 10

สิ่งที่ได้รับมอบหมาย


  สิ่งที่ได้รับมอบหมายงานให้แบ่งกลุ่ม  8  กลุ่ม  

เลือกมา  1  สาระในหนึ่งสาระจะต้อง

-   คำคล้องจอง
-   ปริศนาคำทาย
-   แต่งนิทาน

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินงาน  2  กลุ่ม

สาระที่  2  การวัด 1 กลุ่ม

สาระที่  3  เรขาคณิต  2  กลุ่ม

สาระที่  4  พีชคณิต 1 กลุ่ม

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 1 กลุ่ม

สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1 กลุ่ม


ผลงาน
*นิทาน เรื่องลูกแมวแสนซน *



*คำคล้องจอง*


*ปริศนาคำทาย*












วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 13 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 9

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 22 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้ที่ได้ คือ...วิจัยเรื่องนี้ได้นำศิลปะมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยซึ่งมีขั้นตอน 4 ขั้นด้วยกัน คือ

1.ขั้นกระตุ้นโดยใช้คำถามดึงดูดให้เด็กได้สนใจที่จะเรียนรู้ 
2.ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ ทำให้เด็กได้เห็นภาพโดยนำของจริงมาให้เด็กได้ดูและปฏิบัติ 
3.ย้ำเพื่อพัฒนาโดยการใช้ศิลปะให้เด็กได้ลงมือกระทำ 
4. ขั้นสรุปความรู้ที่ได้ 
ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ตำแหน่ง การจำแนก การรู้ค่า และการเพิ่ม การลด


*เพื่อน เลขที่ 23 นำเสนอวิจัย*

เรื่อง พัฒนาความพร้อมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง ความรู้ที่ได้ คือ...มีวิธีการจัดกิจกรรมโดยการเปิดเพลง มีการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง และคุณครูผู้สอนมีการกำหนดกติกาเพื่อให้เด็กได้เล่นเกม ซึ่งสิ่งที่เด็กจะได้ คือเรื่องของสูงต่ำ เพราะเด็กได้ร้องเพลงสูงต่ำ การนับจำนวน เป็นต้น


ทักษะ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การท่องคำคล้องจอง*
*นำเสนองานในรูปแบบ Power point
*นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การท่องคำคลองจอง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการนำเสนองาน เรื่อง การจัดเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ รู้สึกเหมือนว่ามีการเตรียมความพร้อมไม่ค่อยโอเคหนัก และมีข้อบกหพร่องพอสมควร ในเรื่องของเนื้อหา เอกสารประกอบ และการนำเสนอ แต่ก็พยายามนำเสนอให้เพื่อนๆเข้าใจให้ดีที่สุด

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอยู่บ้างเป็นระยะๆ  และมีความบกพร่องเรื่องเนื้อหาในการนำเสนอ ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจมากหนัก

*อาจารย์ผู้สอน*


  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ มีเพลงให้ร้อง มีกิจกรรมให้ทำ มีคำแนะนำและการประเมินทุกครั้งเมื่อนักศึกษาออกมานำเสนองาน ว่ามีสิ่งที่ควรแก้ไขอย่างไร มีคำถามเสมอ และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำและสอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อ มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 19 นำเสนอบทความ*

เรื่อง ทำไมสอนคณิตศาสตร์ให้กับด็กปฐมวัย ความรู้ที่ได้ คือ... เพราะเด็กช่วงอายุ 0-3 ใช้สมองซีกขวาทำงานได้ดี สามารถแยกจำนวนได้ รับรู้สิ่งต่างรอบตัว และบันทึกความจำระยะยาวอีกด้วย ประโยชน์ของการเรียนคณิตนั้น จะทำให้มีการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพยาม 

และกระตุ้นสมองซีกขวาของเด็กได้ดี



*เพื่อน เลขที่ 20 นำเสนอบทความ*

เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก ความรู้ที่ได้ คือ..การมีกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ โดยใช้เทคนิค ไม่ว่าจะเป็น เพลง สื่อ และ เกม โดยวิธีการสอนนั้น 1.ให้เวลา 15 นาทีก่อนเรียนให้เด็กมีโอกาสทำการบ้าน กรณีที่เด็กทำไม่เสร็จ เนื่องจากเด็กอาจมีปัญหา อาจจะไม่มีคนสอน ครูก็จะสามารถบอกหรือสอนด็กในเวล15 นาที ที่ทำแบบนี้เพื่อสร้างทัศนคติในวิชาคณิตศาสตร์กับเด็ก 2. ครูไม่ใช้เครื่องหมาย กากบาทกับเด็ก ไม่ตราหน้าเด็ก เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเกลียด หรือไม่ชอบในวิชานี้นั้นเอง


*การนำเสนอ รูปแบบการจัดประสบการณ์*

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้แล้วแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก็ปัญหาโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม คือ 1.การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  2.ทัศนศึกษา 3.สืบค้น 4.นำเสนอผลงาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน   จะมีพื้นฐาน 3ข้อ ของการเรียนรู้ คือ 
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย  ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน  ต้องมีการใช้สื่อหลายๆรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณืจริงที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM 
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย

การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก แต่จะสร้างสมาธิ ความมั่นใจ และความสำเร็จในการเรียนให้กับเด็ก

การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline  Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม  ลักษณะของการเรียนมีหลายรูปแบบตั้งแต่เรียนเดี่ยว เรียนเป็นคู่ เรียนกลุ่ม หรือเรียนพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

*เนื้อเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์*


    บวก    บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ  ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                        มารวมกันนับดีๆซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

                             ลบ      บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
                                                       ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้าง ม้า มี   สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย


*เทคนิค*

การจัดกลุ่ม

กำหนด 
ให้นักเรียน เลขที่ 1-5 กลุ่มสตอเบอรี่
เลขที่ 6-10 กลุ่มเชอรี่
เลขที่ 11-15 กลุ่มแอปเปิ้ล
เลขที่ 16-20 กลุ่มลิ้นจี่
เลขที่ 21-25 กลุ่มมะม่วง


ทักษะ

*ลงมือกระทำและวิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การร้องเพลง*
*ทำกิจกรรม เช็คเวลาที่เข้าเรียน*
*นำเสนองานในรูปแบบ Power point



วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน มีการนำเสนองาน เรื่อง การจัดเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ รู้สึกเหมือนว่ามีการเตรียมความพร้อมไม่ค่อยโอเคหนัก และมีข้อบกหพร่องพอสมควร ในเรื่องของเนื้อหา เอกสารประกอบ และการนำเสนอ แต่ก็พยายามนำเสนอให้เพื่อนๆเข้าใจให้ดีที่สุด

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอยู่บ้างเป็นระยะๆ  และมีความบกพร่องเรื่องเนื้อหาในการนำเสนอ ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจมากหนัก

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ มีเพลงให้ร้อง มีกิจกรรมให้ทำ มีคำแนะนำและการประเมินทุกครั้งเมื่อนักศึกษาออกมานำเสนองาน ว่ามีสิ่งที่ควรแก้ไขอย่างไร มีคำถามเสมอ และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำและสอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อ มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย และสั่งงานได้อย่างเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 20 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 16 นำเสนอโทรทัศน์ครู*

เรื่อง ผลไม้แสนสุข ความรู้ที่ได้ คือ... ซึ่งเป็นการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งจะให้เด็กได้ชิมรสชาติของผลไม้ ได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมเคลื่อนไหวด้วยการใช้คำคล้องจอง ได้เรื่องของร่างกายและภาษา และการไปทัศนศึกษาที่ตลาด เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องมารยาททาสังคม และเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ราคา การนับ การวัด เพราะเด็กได้ลงมือซื้อของกับแม่ค้าโดยตรง


*เพื่อน เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู*

เรื่อง ประสาทสัมผัสทัง 5 ความรู้ที่ได้ คือ....
ประสาทสัมผัสที้ง 5 ก็จะมี หู ตา จมูก ผิวกาย และลิ้น มีการจัดกิจกรรมให้เด็กทำทั้ง 5 ด้าน
1.การฟัง ใช้สื่อการสอนโดย กระบอกเสียง เรียนรู้เรื่อง การฟังเสียง สูง-ต่ำ
2.การมอง การใช้กระบอกไม้ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ในด้านขนาด
3.การดมกลิ่น มีกลิ่นต่างๆมาให้เด็กได้ดม เด็กจะได้เรื่องของ ปริมาณ กลิ่นหอมมาก-หอมน้อย
4.การใช้มือ ใช้ผ้าปิดตา และให้เด็กใช้มือสัมผัส พื้นผิววัตถุ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่อง ความหนาแน่นของพื้นผิว 
5.การชิม โดยการให้เด็กได้ชิม น้ำผึ้ง น้ำมะนาว เด็กจะเรียนรู้เรื่องของปริมาณ คามหวาน ความเปรี้ยว มาก-น้อย
       ซึ่งการเรียนรู้ของเรื่องการใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 
        จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในขั้นสูงต่อไป


*เพื่อนๆนำเสนอ กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้*

สิ่งที่ได้
1.วัชรี นำเสนอ เรื่องของ รูปทรง โดยการใช้สื่อไม้ ทำเป็นบล็อกหยอดรู   
2. รัชดา นำเสนอ เรื่องของ การชั่งตวง เล่นผ่านเครื่องชั่งสองแขน ที่มีไม้บล็อกขนาดต่างกัน 
3. ภัทรวรรณ นำเสนอ เรื่องของ รูปทรง โดยการใช้ใข่ต่างๆ เป็นสื่อในการสอน มารวมกันให้เด็กได้แยกประเภท ดูรูปทรง ขนาด ได้อีกด้วย
4. เปมิกา นำเสนอ เรื่องของ รูปร่าง โดยการใช้เกมการศึกษา โดยมีรูป สามหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น มาให้เด็กได้ต่อเป็นรูปดังกล่าว


*ดูบรรยาศในห้องเรียน* 

ดูห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าห้องเรียนแบบนี้ เน้น ประสบการณ์การเล่นในเรื่องของ คณิตศาสตร์และภาษา สังเกตจากสื่อที่สามารถตรวจสอบได้

*รูปแแบบการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย*

มี 6 รุปแบบ
1.แบบบูรณาการ
2.แบบโครงการ
3.แบบสมองเป็นฐาน
4.แบบ STEM
5.แบบมอนเตสซอรี่
6.แบบเดินเรื่อง

*เนื้อเพลง นับนิ้วมือ*

นี่คือนิ้วมือของฉัน   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว   มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ1 2 3 4 5    นับต่อมา6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ


*เทคนิค*


ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
   โดยการตอบปากเปล่า
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน โดยการระดมความคิด*
*ลงมือกระทำและวิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การร้องเพลง*
*ทำกิจกรรม เช็คเวลาที่เข้าเรียน*
*ทำกิจกรรม แผนผังความคิดในเรื่อง สาระที่ควรรู้ ในหลักสูตรปฐมวัย




วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  และสนใจกับกิจกรรมที่ทำ มีสมาธิในการเรียน

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางกลุ่มคุยกันเสียงดังอยู่บ้างเป็นระยะๆ  และบางคนแต่งกายไม่สุภาพ คือ ใส่ชุดพละมาบ้าง ส่วนเพื่อนที่นำเสนอโทรทัศน์ครู นำเสนอได้อย่งเข้าใจ

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ มีเพลงให้ร้อง มีกิจกรรมให้ทำ มีคำแนะนำทุกครั้งเมื่อนักศึกษาออกมานำเสนองาน ว่ามีสิ่งที่ควรแก้ไขอย่างไร มีคำถามเสมอ และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำและสอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อ มีการเตรียมเนื้อมาสอนเป็นระบบแบบแผน เข้าใจง่าย



คำท้ายชวนคิด

ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง...?

ตอบ มีผลกระทบอย่างแน่นอนในอนาคต เด็กจะมีอคติในวิชาคณิตศาสตร์และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ  การเรียนต่อในระดับสูง เด็กจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ และใช้เหตุผลไม่เป็น ในการดำรงชีวิตในชีวิตประวันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่





วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 13 เดือนกุมภาพัธ์ พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่ 15 นำเสนองานวิจัย*

ชื่องานวิจัยว่า กิจกรรมการเล่นแบบไทย เพื่อพัฒนาด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่ได้รับเมื่อเพื่อนนำเสนอ คือ การนำเอาการละเล่นแบบไทย เช่น เกมขี่ม้าก้านกล้วย และ รีรีเข้าสาร นำมาสอนและสอดแทรกคณิตฯ เข้าไปด้วย จะสามารถสร้างโนทัศน์ให้กับเด็กได้ คือ เรื่องของ จำนวน 1-30 การนับ การเปรียนเทียบ จำนวนคู่และจำนวนคี่

*เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์*

ได้แก่
1.เพลง
2.เกม
3.ปริศนาคำท้าย
4.นิทาน
5.คำคล้องจอง
6.บทบาทสมมติ
7.แผนภูมิภาพ
8.สื่อในท้องถิ่น
9.การเล่นแบบไท


*เพื่อนๆนำเสนอ กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้*

สิ่งที่ได้
1.ยุภา นำเสนอ เรื่องของ รูปทรง โดยการใช้สื่อกระดาษ ให้นำมาต่อเป็นรูปสามเหลี่ยม   
2. กมลรัตน์ นำเสนอ เรื่องของ เงิน โดยการนำเอาบทบาทสมมติให้เด็กได้เล่นตามมุม ค้าขาย
3. ศุทธินี นำเสนอ เรื่องของ เวลา โดยการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อในการสอน
4. ปรางชมพู นำเสนอ เรื่องของ การจัดประเภท โดยการนำเอาของที่เหลือใช้มาเป็นสื่อ ให้เด็กได้แยกประเภท
5. ประภัสสร นำเสนอ เรื่องของ ตำแหน่ง โดย การติดชื่อไว้ในตำแหน่งที่นั่งของเด็ก 


*เนื้อเพลงที่ร่วมกันแต่งกับเพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน*

ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา 
เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา  2 อย่างหมดเลย 

*สอนในเรื่องการรู้ค่าของจำนวน 2*

ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน*
*ระดมความคิด*
      ในการแต่งเพลง 
*ทำกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่นักศึกษาจะไปในวัน Valentines*
   กิจกรรมนี้สามารถสอนเรื่อง การสำรวจ จำนวน และมีส่วนร่วมในการเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย และยังสอนให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับกิจวัตรประวันอีกด้วย
*การร้องเพลงและแต่งพลง*

*ทำกิจกรรม การต่อรูปทรง และวาดรูปทรงในตาราง*
*การนำเสนอ งานวิจัย*
*การนำเสนอกิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้*


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม

การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง อาจารย์ผู้สอน และเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนองาน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม   มีความพร้อมในการเตรียมตัวที่ดี ก่อนมานำเสนองานวิจัย สนุกสนานในกิจกรรมที่เรียน 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดช่วยกันได้ดี แต่เพื่อนบางกลุ่มคุยกันเสียงดัง หรือบางที่ไม่ตั้งใจฟังเมื่อเพื่อนนำเสนองาน  และการแต่งกายไม่สุภาพ

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ มีคำแนะนำทุกครั้งเมื่อนักศึกษาออกมานำเสนองาน ว่ามีสิ่งที่ควรแก้ไขอย่างไร และมีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีการระดมความคิดร่วมกันกับนักศึกษา มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำและสอดแทรกในเนื้อหาที่เรียน เพื่อให้การเรียนไม่น่าเบื่อ






วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันศุกร์ ที่ 6 เดือนกุมภาพัธ์ พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 5

ความรู้ที่ได้รับ



*เพื่อน เลขที่11 นำเสนอบทความ*

ชื่อบทความว่า การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสิ่งที่ได้ในบทความนี้ คือ เป้าหมายหลัก คือช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการคิด ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และการหาคำตอบด้วยตัวของเด็กเอง


*มาตรฐาน คือ?....*

คือ เกณฑ์อย่างต่ำ ที่ใช้วัดพฤติกรรมของตัวเด็ก ว่ามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไหม


*มาตรฐานมีประโยชน์อย่างไร*

รู้จักคุณภาพของผู้เรีนย ว่ามีมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน


*เด็กปฐมวัยเรียนอะไรในคณิตศาสตร์*

นื้อหา/ทักษะทางคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่ระดับประถมศึกษา



*สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน*

ซึ่งมี 6 สาระด้วยกัน
สาระที่1.จำนวนและการดำเนินการ
เข้าใจพื้นฐานการนับ จำนวน การเปรียบเทียบ คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
สาระที่2.การวัด 
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก เงินและ เวลา 
สาระที่3.เรขาคณิต
รู้จัก บอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางได้
สาระที่4.พีชคณิต
เข้าใจ แม่แบบและความสัมพันธ์ 
สาระที่5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เข้าใจในการนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่6.ทักษะและกระบวนการทางคณิต
รู้จักใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหา 

*คุณภาพของเด็ก เมื่อเรียนคณิตศาสตร์*

1.มีความคิดเชิงคณิตฯ ในสาระที่1
2.มีความรู้พื้นฐาน ในสาระที่2
3.มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน ในสาระที่3
4.มีความเข้าใจในรูปแบบ ในสาระที่4
5.มีส่วนร่วมในข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย ในสาระที่5
6.ทักษะ และกระบวนการในการใช้ในชีวิตประวัน ในสาระที่6

*เพลงจัดแถว*

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายื่นตรง

ยื่นให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
ยื่นให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนขวาอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ


ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน*
*ระดมความคิด* 
*ทำกิจกรรมเช็คชื่อเข้าเรียน*
   สามารถเช็คชื่อนักเรียนที่มาเรียนได้ แล้วนำมาสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ ในเรื่องการนับ เวลา ได้อีกด้วย
*การร้องเพลง*



วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง


การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  เข้าใจในเนื้อหา สามารถอธิบายและตอบอาจารย์ได้ รู้สึกง่วงแต่สามารถควบคุมตนเองได้ ในการเรียน 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและวิเคราะห์คำตอบช่วยกันเป็นอย่างดี เพื่อนมาสายบางส่วน ทำให้การเรียนล่าช้า  และการแต่งกายไม่สุภาพ

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม และเมื่ออาจารย์สอน จะยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเรื่องที่เรียน แก้สถานะการณ์
ในการสอนได้ดี ในเรื่อง การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้เด็กได้มีเวลาพัก 10 นาที ทำให้เด็กไม่ตรึงเครียดในการเรียน




วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำ วันพุธ ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

บันทึกครั้งที่ 4

ความรู้ที่ได้รับ



*ทบทวนพัฒนาการ*


ทฤษฎีเพียเจต์

ขั้นที่1 เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
ขั้นที่2 เด็กเริ่มใช้ภาษามากขึ้นและมีเหตุผล 



ทฤษฎีบรูเนอร์

1.ขั้นการกระทำ--->จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ขั้นความคิด--->สร้างมโนภาพในใจได้ 
3.ขั้นสัญลักษณ์และนามประธรรม--->ใช้เหตุผลได้ และมีรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้มากขึ้น

ทฤษฎีไวกอตสกี้

1.เด็กต้องการกระบวนการสนับสนุน และเพิ่มพูนพัฒนาการทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน เด็กจะมีความคิดที่อยากจะทำเอง โดยไม่ใช้คำสั่งของคนอื่น และการสนับสนุนนั้นจากสภาพแวดล้อมและเพื่อน 
2.เด็กต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น และการสื่อสารจากผู้ปกครองและคุณครู ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กบ่อยๆ

*คุณลักษณะตามเด็กปฐมวัย*

คือ พฤติกรรมตามวัย ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติทั้ง 4 ด้าน



*ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้คณิตศาสตร์*


1.ด้านกายภาพ--->ความรู้ที่เกิดจากภายนอกโดยตรง 
2.ด้านเหตุผล--->ความรู้ที่เกิดจากภายในเชื่อมโยงกับทฤษฎีโดยการลงมือปฏิบัติซึ่งเป็นผลสะท้อน เด็กต้องปฏิบัติบ่อย จากกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงหาข้อเท็จจริง 



*จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย*


1.เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานคณิตศาสตร์ รู้จักคำศัพท์ 
เช่น เวลา รูปทรง ขนาด เป็นต้น
2.พัฒนาการคิดมโนภาพ 
เช่น การบวก-->ทำให้เพิ่มขึ้น การลบ-->ทำให้น้อยลง
3.รู้จักขั้นตอนในการหาคำตอบ
4.ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.มีความรู้ ความเข้าใจ ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
               

*ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*


1.การสังเกต
2.การจำแนกประเภท-->หาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการจำแนก เกณฑ์ที่ใช้ต้องใช้เกณฑ์เดียว
3.การเปรีบยเทียบ-->ต้องหาความสัมพัธ์ของวัตถุสองสิ่งขึ้นไป และเด็กต้องรู้จักคำศัพท์ที่ใช้ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน เป็นต้น
4.การเรียงลำดับ-->จะต้องเปรียบเทียบแล้วนำมาจัดลำดับ เช่น น้อยไปหามาก ใหญ่กลางเล็ก จัดลำดับวัตถุและเหตุการณ์
5.การวัด-->จะต้องใช้ความสัมพันธ์ความสามารถและการอนุรักษ์ เช่น การวัดอุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนักเป็นต้น ซึ่งเครื่องมื่อที่ใช้ในการวัดนั้นจะต้องไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
6.การนับ-->เด็กชอบนับแบบท่องจำหรือปากเปล่า ซึ่งไม่มีความหมาย จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับเรื่องในชีวิตประจำวัน หรือมีจุดมุ่งหมาย
7.รูปทรงและขนาด-->เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าเรียน เพราะเด็กมีประสบการณ์เดิมจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว

*หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย*

1.สอนให้สอดคล้องในชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้ค้นพบด้วยตนเอง
3.ครูจะต้องมีการวางแผนที่ดี
4.เอาใจใส่กับพ้ฒนาการของเด็ก



*คำศัพท์คณิตศาสตร์*


ตัวเลข                     ขนาด                             รูปทรง
     ที่ตั้ง                        ค่าของเงิน                     ความเร็ว

*เพลง*

ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                                


ทักษะ

*ทำแบบทดสอบก่อนเรียน*
*ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน*
*ระดมความคิด* 
*ทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา*
   สามารถเช็คชื่อนักเรียนที่มาเรียนได้ แล้วนำมาสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ ในเรื่องการนับ เวลา ได้อีกด้วย
*การร้องเพลง*


วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การร้องเพลง



การประเมิน

*ห้องเรียน*
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

*ตัวเอง*
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ต้องใจฟัง มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  เข้าใจในเนื้อหา สามารถอธิบายและตอบอาจารย์ได้ 

*เพื่อนในห้องเรียน*
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและวิเคราะห์คำตอบช่วยกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนที่นำเสนอ โทรทัศน์ครู เวลาออกมาพูด พูดไม่ค่อยชัดเจน สักเท่าไร

*อาจารย์ผู้สอน*
  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การตอบคำถาม และเมื่ออาจารย์สอน จะยกตัวอย่างที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายในเรื่องที่เรียน